1.เทคโนโลยีสารสนเทศ
หมายถึงเทคโนโลยีสำหรับการประมวลผลสารสนเทศ ซึ่งครอบคลุมถึงการรับ-ส่ง การแปลง การจัดเก็บ การประมวลผล และการค้นคืนสารสนเทศ ในการประยุกต์ การบริการ และพื้นฐานทางเทคโนโลยี สามารถแบ่งกลุ่มย่อยเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ คอมพิวเตอร์, การสื่อสาร และข้อมูลแบบมัลติมีเดีย ซึ่งในแต่ละกลุ่มนี้ยังแบ่งเป็นกลุ่มย่อยๆ ได้อีกมากมาย องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้ ยังต้องอาศัยการทำงานร่วมกัน ยกตัวอย่างเช่น เซิร์ฟเวอร์ (คอมพิวเตอร์) เป็นองค์ประกอบสำคัญของระบบเครือข่าย (การสื่อสาร) โดยมีการส่งข้อมูลต่าง ๆ ไปยังเครื่องลูก (ข้อมูลแบบมัลติมีเดีย)
เทคโนโลยีสารสนเทศ บางครั้งเรียก เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (information and communications technology ย่อว่า ICT)
2.อุตสาหกรรมท่องเที่ยว
ความสำคัญของอุตสาหกรรมท่องเที่ยว อุตสาหกรรมท่องเที่ยว (Tourism Industry) ซึ่งประกอบด้วยธุรกิจหลายประเภท ทั้งธุรกิจที่ เกี่ยวข้องโดยตรง และธุรกิจที่เกี่ยวข้องทางอ้อม หรือธุรกิจสนับสนุนต่าง ๆ การซื้อบริการของ นักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ ถือได้ว่าเป็น การส่งสินค้าออกที่มองไม่เห็นด้วยสายตา (Invisible Export) เพราะเป็นการซื้อด้วยเงินตราต่างประเทศ การผลิต สินค้า คือ บริการต่าง ๆ ที่นักท่องเที่ยวซื้อก็จะต้องมี การลงทุน ซึ่งผลประโยชน์จะตกอยู่ในประเทศและจะช่วยให้เกิด งานอาชีพอีกหลายแขนง เกิดการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจ นอกจากนี้ทางด้านสังคมการท่องเที่ยวเป็นการพักผ่อนคลาย ความตึงเครียด พร้อม กับการได้รับความรู้ ความเข้าใจในวัฒนธรรมที่ผิดแผกแตกต่างออกไปอีกครั้ง อุตสาหกรรม ท่องเที่ยวเป็นแหล่งที่มาของรายได้ในรูปเงินตราต่างประเทศ ซึ่งจะมีส่วนช่วยสร้างเสถียรภาพให้กับดุลการชำระเงินได้ เป็นอย่างมาก นอกจากนี้ การท่องเที่ยวยังมีบาทบาทช่วยกระตุ้นให้มีการนำเอาทรัพยากรของประเทศมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง ที่ผู้อยู่ในท้องถิ่นได้เก็บมาประดิษฐ์เป็นหัตถกรรมพื้นบ้าน ขายเป็นของ ที่ระลึกสำหรับนักท่องเที่ยว
3. CRS – Computer Reservation System
ระบบสำรองที่นั่งของการบินไทย เดิมการบินไทยมีระบบสำรองที่นั่งของตนเอง คือระบบรอยัล (Royal System) โดยในระยะแรก ผู้โดยสารที่ต้องการสำรองที่นั่งต้องติดต่อโดยตรงกับการบินไทย ต่อมาได้มีการปรับเปลี่ยนแผนทางการตลาดทำให้เกิดตัวแทนจำหน่าย (Travel Agent) ขึ้น ซึ่งตัวแทนจำหน่ายตั๋วได้เข้ามามีบทบาทและมีอำนาจในการตัดสินใจซื้อที่นั่งของสายการบินมากขึ้น จากการสำรวจสถิติของประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่า การขายผ่านตัวแทนจำหน่ายมียอดสูงถึงร้อยละ 80 ดังนั้นการบินไทยจึงได้ติดตั้งระบบรอยัลให้กับตัวแทนจำหน่าย (Travel Agetn) ในประเทศและประเทศใกล้เคียง ซึ่งการใช้ระบบรอยัลนี้ ทั้งการบินไทย (สำนักงานขายบัตรโดยสาร และสำรองที่นั่ง) และตัวแทนจำหน่ายจะขายได้เฉพาะที่นั่งของเที่ยวการบินไทยเท่านั้น อีกทั้งการขยายเครือข่ายก็เป็นไปได้อย่างจำกัด เนื่องจากมีต้นทุนการพัฒนา และเชื่อมโยงระบบสูง การบินไทยจึงได้ตัดสินใจ เข่าร่วมพันธมิตรกับระบบสำรองที่นั่งผ่านคอมพิวเตอร์ ( Computerize Reservation System: CRS) ที่ใหญ่เป็นอันดับหนึ่งในภาคพื้นยุโรป คือระบบอะมาดิอุส (Amadeus) ซึ่งมีสายการบินลุฟท์ฮันซ่า แอร์ฟรานซ์ ไอบีเรียและเอสเอเอส เป็นแกนนำในการจัดตั้ง โดยได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2533 ให้พันธมิตร และร่วมลงทุนในบริษัทการตลาดอะมาดิอุสประจำประเทศไทย (Amadeus Thailand) ซึ่งสามารถดำเนินการในลักษณะเป็นเอกเทศเพิ่มความคล่องตัว และขีดความสามารถ โดยได้สิทธิในการจัดจำหน่ายในประเทศไทย อินโดจีน และพม่า
ปัจจุบันการสำรองที่นั่งของการบินไทยทำโดยผ่านทางสำนักงานขายของการบินไทย และผ่านทางตัวแทนจำหน่าย (Travel Agent) กว่าแสนรายทั่วโลก โดยมีสัดส่วนจากการขายผ่านสำนักงานขายของการบินไทยเอง คิดเป็นร้อยละ 40 ในขณะที่การขายผ่านตัวแทนจำหน่ายคิดเป็นร้อยละ 60 สำหรับ
ตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทย ขณะนี้สามารถสำรองที่นั่งของเที่ยวบินการบินไทยโดยผ่านระบบ CRS คือ ระบบอะมาดิอุส (Amadeus) ที่การบินไทยเป็นผู้จัดจำหน่าย อีกทั้งเป็นระบบที่สำนักงานขายของการบินไทยทั่วโลกใช้ ส่วนตัวแทนจำหน่ายทั่วโลกสามารถสำรองที่นั่งการบินไทยผ่านระบบ CRS เกือบทุกระบบ
ทั้งนี้การสำรองที่นั่งผ่านตัวแทนจำหน่าย นับวันจะมีแนวโน้มสูงขึ้น เพราะสมาคมการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (The International Air Transport Association : IATA) และสายการบินต่าง ๆ ในประเทศไทยได้พยายามผลักดันงานด้านสำรองที่นั่ง และออกบัตรโดยสารให้ดำเนินการโดยตัวแทนจำหน่ายให้มากขึ้น
ระบบสำรองที่นั่งผ่านคอมพิวเตอร์ (Computerize Reservation System: CRS) เกิดจากกลุ่มสายการบินและกลุ่มร่วมกันพัฒนา เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์ในด้านการจัดจำหน่ายอีกรูปแบบหนึ่ง โดยเป็นการกระจายการขายไปยังตัวแทนจำหน่ายทั่วโลก ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันทำให้ CRS แต่ระบบเพิ่มผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ นอกเหนือจากการสำรองที่นั่งสายการบิน อาทิ การจองห้องพักโรงแรม รถเช่า การจองที่นั่งรถไฟ ฯลฯ ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่า การสำรองที่นั่งแบบเบ็ดเสร็จ (Global Distribution System: GDS)
ปัจจุบันทั่วโลกมีระบบสำรองที่นั่งผ่านคอมพิวเตอร์ (CRS) ที่สำคัญดังนี้
1. ระบบเซเบอร์ (Sabre) ก่อตั้งโดยสารการบินอเมริกัน แอร์ไลน์ส
2. ระบบอะมาดิอุส (Amadeus) ก่อตั้งโดยสายการบิน แอร์ฟรานซ์ ลุฟท์ฮันซ่า ไอบีเรีย และเอสเอเอส
3. ระบบอาบาคัส (Abacus) ก่อตั้งโดยสายการบินในเอเซีย คือ สายการบินคาเธ่ย์ แปซิฟิค สิงค์โปร์ แอร์ไลน์ส และมาเลเซีย แอร์ไลน์ส
4. ระบบเวริ์ลสแปน (World Span) ก่อตั้งโดยสายการบิน เดลต้า แอร์ไลน์ นอร์ธเวสต์ และทรานสเวริ์ล แอร์ไลน์ส
5. ระบบกาลิเลโอ (Galileo) ก่อตั้งโดยสายการบิน บริติชแอร์เวย์ และ ยูไนเต็ดแอร์ไลน์
6. ระบบโทปาส (Tapaz) ก่อตั้งโดยรัฐบาลเกาหลี
7. ระบบแอกเซส (Axess) ก่อตั้งโดยสายการบิน เจแปน แอร์ไลน์ส
8. ระบบอินฟินี (Infini) ก่อตั้งโดยสายการบิน ออลนิปปอน แอร์เวย์
4.GDS – Global Distribution System
การจองเบ็ดเสร็จ(Global Distribution System-GDS)เป็นระบบการสำรองที่นั่งสายการบินที่ได้พัฒนาอย่างมีประสิทธิภาพโดยการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายไปยังผู้ใช้ทั่งโลก พร้อมทั้งเพิ่มผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมถึงการสำรองที่นั่งกับธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวหรือแม้แต่ธุรกิจการทันเทิงผักพ่อนหย่อนใจ เหตุผลที่สายการบินส่วนใหญ่นั้นเลือกใช้ระบบจัดจำหน่ายแบบเบ็ดเสร็จของระบบอะมาดิอุสมาใช้เป็นระบบสำรองที่นั่งของตนเองรวมทั้งใช้เป็นระบบจัดจำหน่ายให้กับตัวแทนจำหน่ายในประเทศไทยและทั่วโลก โดยได้รับสิทธิในการจัดจำหน่ายระบบอะมาดิอุสให้กับทั่วแทนจำหน่ายในประเทศไทยและทั่วโลกโดยได้รับสิทธิในจำหน่ายระบบอะมาดิอุสให้กับตัวแทนจำหน่ายในลักษณะที่เรียกว่า National Marketing Company (NMC) นอกจากนี้ระบบอะมาดิอุสเป็นระบบสำรองที่นั่งด้วยคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่เป็นที่ 2 รองจากระบบ Sabre และใหญ่ที่สุดในยุโรปที่ร่วมก่อตั้งโดยสายการบินใหญ่ในยุโรป 4 สาย คือ SAS(Scandinavian Airlines System), Air France, Lufthansa และ Iberia ในปี 1987 และการบินไทย (TG) ได้เข้าร่วมเป็น Partner Airlines ในปี 1988.
จุดเด่นของระบบอะมาดิอุส (Amadeus) คือ ระบบที่นำเทคโนโลยีด้านการสื่อสารโทรคมนาคมผนวกเข้ากับความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์มาพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกมาในลักษณะสายผลิตภัณฑ์ ได้อย่างรวดเร็วและทันกับความต้องการของผู้ใช้โดยสาร ตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ เช่น
1. ระบบสำรองที่นั่งหลัก (Central System) ที่เป็นระบบออกแบบโดยใช้ปรัชญา "User Friendly"
2. ระบบ Front Office ที่ออกแบบโดยอาศัยความสามารถของ PC-Window เรียกว่า Amadeus pro Tempo
3. ระบบการสำรองที่นั่งผ่านระบบ Internet
4. ระบบการนำเสนอข้อมูลการสำรองที่นั่งและออกบัตรโดยสามารถใช้เป็น Information System เรียกว่า Amadeus Interface Record sinv AIR
และสิ่งสำคัญของระบบการจัดจำหน่ายแบบเบ็ดเสร็จ(GDS) ซึ่งผูออกแบบได้ยึดหลักการตอบสนองความต้องการพื้นฐานของผู้ใช้ ซึ่งผู้ใช้หลักคือบริษัทตัวแทนจำหน่าย ซึ่งระบบได้พัฒนามารองรับ คือ
1. ความรวดเร็วต้องเป็นระบบ GDS ที่ให้ข้อมูลกับผู้ใช้งานในทันที ดังนั้นการออกแบบโครงสร้างของระบบโดยเฉพาะในส่วนที่เป็น Mainframe และระบบการสื่อสารโทรคมนาคมต้องเป็นแบบที่ศักยภาพสูง อีกทั้งเป็นระบบ GDS ใหญ่เช่น Amadeus ที่มีผู้ใช้กว่า 100,000 เครื่องทั่วโลก
2. ความถูกต้องแม่นยำ (Accuracy & Reliability) ต้องเป็นระบบ GDS ที่สามารถนำข้อมูลของสายการบิน บริษัทตัวแทนจำหน่าย โรงแรม รถเช่า และอื่นๆมาแสดงต่อผู้ใช้อย่างแม่นยำถูกต้อง ดังนั้นการเชื่อมต่อแบบระบบ Online ไม่ว่าจะเป็น Technology เช่น Host to Host Connection หรือ EDI จะต้องนำมาใช้ให้ถูกต้องกับการเชื่อมต่อระบบในแต่ละระดับ
3. ความง่ายต่อการเรียกข้อมูล (Available) ต้องเป็นระบบ GDP ที่นำเอาข้อมูลมาใช้ด้วยการเรียก (Input) ที่ง่ายไม่ซับซ้อน หรือที่เรียกว่า User Friendly อีกทั้งมีความสะดวกมากในการเรียกใช้ข้อมูล ซึ่งจะขึ้นอยู่กับระบบสื่อสารที่มีศักยภาพสูง เช่น การใช้ Fiber Optics หรือการใช้การเชื่อมระบบผ่านดาวเทียม(Satellite)
สิ่งที่ควรทราบในการสำรองที่นั่งด้วยระบบ GDS ที่สำคัญได้แก่
1. องค์ประกอบการเดินทางของผู้โดยสาร (Itinerary Element) ประกอบด้วย
- เที่ยวบินของผู้โดยสาร
- ชั้นที่นั่งบนเครื่องของผู้โดยสาร
- เมืองต้นทางและเมืองปลายทางของผู้โดยสาร
- เวลาที่ออกและเวลาที่ถึง
- จุดแวะ
- เครื่องบินที่ใช้บิน
- ระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทาง
2. องค์ประกอบของชื่อผู้โดยสาร (Name Element) ประกอบด้วย
- ชื่อนามสกุล
- ชื่อผู้โดยสาร
- เพศ
- สถานะว่าเป็น ผู้ใหญ่ เด็ก หรือทารก
3. องค์ประกอบของตั๋วโดยสาร (Ticketing Element) จะประกอบด้วย
- ผู้โดยสารมีบัตรโดยสารหรือยัง
- ถ้ายังไม่มีบัตรโดยสาร เจ้าหน้าที่สำรองที่นั่งจะกำหนดเวลาและวันที่ให้ผู้โดยสารมารับบัตรโดยสาร
- ถ้ามีบัตรโดยสารแล้ว เจ้าหน้าที่จะใส่หมายเลขบัตรโดยสารลงไป
4. องค์ประกอบในการติดต่อ (contact Element) ประกอบด้วย
- หมายเลขโทรศัพท์ของผู้โดยสาร หรือผู้ทำการสำรองที่นั่งแทนพร้อมชื่อที่สายการบินสามารถติดต่อได้
- บันทึกชื่อและหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ทำการสำรองที่นั่งลงในคอมพิวเตอร์เพื่อจะได้ติดต่อในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน อย่างเช่นการยกเลิกหรือเปลี่ยนแปลงเที่ยวบิน
5. การขอบริการพิเศษต่างๆ เช่น อาหารพิเศษ,เก้าอี้ล้อเข็นคนไข้,ผู้โดยสารเด็กหรือทารก เป็นต้น
6. คำย่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างสายการบิน เช่น City codes/Airport codes,Airline code.
7. คำย่อที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารทางโทรศัพท์
8. การอ่านตารางสายการบิน (Airline Schedule)
9. การบันทึกข้อมูลของผู้โดยสารและการอ่านข้อมูลในการบันทึกข้อมูลผู้โดยสาร ประกอบด้วย
- ชื่อผู้โดยสาร (Passenger name)
- รายการเดินทาง (Segment) เช่น เที่ยวบิน,ชั้น,วันที่บิน,เส้นทาง,เวลาเข้าออก เป็นต้น
- เบอร์โทรศัพท์และสถานที่ติดต่อกับผู้โดยสาร เป็นข้อมูลสำคัญที่ต้องระบุใน passenger Name Record (PNR) ทุกครั้ง
5.Cloud Computing
Cloud Computing มันคืออะไร ค้นในเน็ตเจอคำแปลต่างๆ มากมาย ส่วนใหญ่บอกว่า การประมวลผลบนก้อนเมฆ… ถ้าสำหรับแบบที่ผมคิดนะ ผมว่าก็คือระบบโปรแกรมคอมพิวเตอร์เรานี่แหละ แต่แทนที่จะต้องมาประมวลผล หรือทำงานแบบเดิมคือทำบน PC แบบที่เราเคยใช้ๆกันอยู่มันจะย้ายไปทำงานผ่านพวก WEB Browser บนโลกอินเตอร์เน็ต อาทิเช่น เดิม เราใช้ Microsoft Word, Excel, Power Point โดยเราต้องเปิด PC แล้วรอมัน Windows มันบู๊ต แล้วเราก็เลือกไอคอน โปรแกรม แล้วก็คลิ๊กเปิด แล้วก็ใช้งาน แต่ถ้าเป็น Cloud Computing หรือ Cloud Service คือเราเข้าอินเตอร์เน็ตให้ได้ และเราก็จะใช้งานโปรแกรมอะไรก็ตามแต่ ผู้ให้บริการบนโลกอินเตอร์เน็ต เขาก็จะเตรียมไว้ให้เราแล้ว (แต่ถ้าเข้าอินเตอรเน็ตไม่ได้…ก็เกิดเรื่องกันละทีนี้) เอาให้ง่ายเข้าไปอีก ลองคิดถึงแต่ก่อนเราอาจจะต้องใช้ Outlook หรือ Lotus Note ในการทำงานเพื่อเปิดเครือ่งเพื่อรับเมล์ เดี๋ยวนี้เราจะเห็น มี Google, Hotmail หรือ Yahoo ให้เราสามารถเช็คเมล์ได้ โดยเฉพาะ Google พี่ท่านกะล็อกทุกอย่าง หรือครองโลกออนไลน์เลยก็ว่าได้ เดี๋ยวถ้าเรามี Domain แล้วไม่ต้องการมี Server หรือตั้งระบบ Mail Server เราสามารถไปเช่าใช้บริการผูกเมล์เราเข้ากับระบบ Gmail ของ Google ได้อีกต่างหากอีกหน่อย ในความคิดผมนะ เครื่อง PC หรือ Notebook ต่อไปเปิดมา อาจจะไม่ต้องเปิดผ่าน Windows เลยก็เป็นไปได้ คือเปิดขึ้นมากลายเป็น WEB OS เลย ก็คือแบบเปิดปุ๊บ เข้าอินเตอร์เน็ตทันที อยากใช้โปรแกรมอะไรก็แค่ เรียก หรือเปิดใช้บริการเอา อาจจะมีทั้งแบบฟรี หรือเสียเงินก็ว่ากันไป และแนวโน้มก็ค่อนข้างจะไปทางนั้นแหละผมว่า เพราะเดี๋ยวนี้เราเริ่มมีอุปกรณ์พวก tablet หรือ มือถือ ที่สามารถเชื่อมต่อเข้าระบบอินเตอร์เน็ตได้แบบทันทีที่เปิดเครื่อง และแนวโน้มของคนที่จะใช้ tablet นั้น ผมขอเดาว่าอีกไม่นาน 1-2 ปีนี้ จะมีปริมาณที่มากกว่า PC หรือ Notebook กว่าในอดีตมาก โดยเฉพาะอัตราการเติบโตของจำนวนผู้ใช้ที่จะโตไวมาก เพราะมันชัดแล้วว่า เทคโนโลยีจะไวขึ้นเรื่อยๆ ขนาดเล็กลงเรื่อยๆ และราคาก็จะถูกลงเรื่อยๆ ทำให้ สามารถเข้าถึงกลุ่มคนได้ทุกเพศ ทุกวัย
6.E-Tourism
ในปัจจุบันการท่องเที่ยวถือเป็นกิจกรรมที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะการท่องเที่ยวในต่างประเทศ ประเทศไทยนั้นถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงในด้านการท่องเที่ยวเป็นอันดับต้นๆ แต่ในภาวะที่เศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้คงไม่มีมีใครคิดจะเดินทางท่องเที่ยว และจากสภาพเศรษฐกิจโลกในปัจจุบันนี้เองทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบอย่างหนัก เพราะรายได้หลักของประเทศไทยนั้นมาจากการส่งออกและการท่องเที่ยวเป็นหลัก เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้การท่องเที่ยวของไทยย่อมได้รับผลกระทบเป็นอย่างมาก อีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การท่องเที่ยวไทยไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรก็คือผู้ประกอบการ บริษัททัวร์และนักธุรกิจด้านการท่องเที่ยวยังคงยึดติดอยู่กับการท่องเที่ยวแบบเดิมๆอยู่ นั่นคือการนั่งรอนักท่องเที่ยวเดินเข้ามาและมุ่งหานักท่องเที่ยวที่พำนักอยู่ในประเทศไทยเท่านั้นแต่กลับไม่แสวงหานักท่องเที่ยวจากมุมโลกอื่นเลยทั้งนี้เพราะผู้ประกอบการในไทยยังไม่เปิดกว้างและก้าวเข้าสู่โลกอินเตอร์เน็ต (Internet) เท่าที่ควรหรือยังไม่คุ้นเคยกับระบบที่เรียกว่า E-Tourism
E-Tourism คือการใช้ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีในการท่องเที่ยวเพื่อช่วยให้การท่องเที่ยวเป็นเรื่องง่าย ในปัจจุบัน E-Tourism ไม่ใช่เรื่องแปลกในระดับโลกอีกต่อไปเพราะธุรกิจท่องเที่ยว บริษัททัวร์ต่างๆที่เป็นบริษัทระดับยักษ์ใหญ่ของโลกนั้นต่างใช้ E-Tourism ในการดำเนินธุรกิจเพื่อให้ได้ฐานลูกค้าที่กว้างขึ้นและทำให้การบริการด้านการท่องเที่ยวเชื่อมโยงถึงกันทั่วโลกโดยผ่านอินเตอร์เน็ตออนไลน์ การเข้ามาของอินเทอร์เน็ตได้ปฏิวัติวิถีการท่องเที่ยวแบบโบราณ โดยเฉพาะ การสืบค้นข้อมูล ข้อหาสถานที่ท่องเที่ยว โปรโมชั่น รวมถึงวางแผนการเดินทางล่วงหน้า ให้ง่ายดุจพลิกฝ่ามือ และยังสร้างสรรค์โอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ให้กับผู้ประกอบการได้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ตรงจุดมากขึ้น แต่สำหรับประเทศไทยนั้น E-Tourism ยังคงเป็นเรื่องแปลกใหม่เพราะผู้ประกอบการและบริษัททัวร์ส่วนใหญ่ในไทยนั้น ยังคงขาดความรู้และความเข้าใจในการใช้อินเตอร์เน็ตในการให้บริการด้านการท่องเที่ยวอยู่มาก แม้ว่าในปัจจุบันจะมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลกรวม 1,000 ล้านคน และ 80% ของคนจำนวนนี้ ใช้อินเตอร์เน็ตในการหาข้อมูลด้านการท่องเที่ยว อาทิ แหล่งท่องเที่ยว โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร และบริการด้านการท่องเที่ยวอื่นๆ ตลอดจน การใช้บริการจองผ่านอินเทอร์เน็ต ด้วยระบบ E-Commerce ก็ตาม ซึ่งส่งผลให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร
นอกจากบริษัททัวร์ของไทยไม่เปิดเข้าหาโลกอินเตอร์เน็ตเท่าที่ควรแล้ว ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การท่องเที่ยวของไทยประสบปัญหา คือ การที่โรงแรมที่พัก ร้านอาหาร แหล่งท่องเที่ยว หรือบริษัททัวร์ขาดความร่วมมือที่ดีต่อกัน จากแนวคิดของ Ronold R.Coase (1937) กล่าวว่า หน่วยผลิตจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีต้นทุนธุรกรรม (Transaction Cost) ซึ่งก็คือ ต้นทุนในการติดต่อกับผู้ผลิตรายอื่นๆที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการผลิตสินค้าหรือบริการของหน่วยผลิต ซึ่งถ้าหากมีต้นทุนทางธุรกรรมในการติดต่อสูงจะทำให้หน่วยผลิต เลือกที่จะผลิตสินค้าหรือบริการด้วยตนเองโดยไม่ติดต่อกับผู้ผลิตรายอื่นๆ จากทฤษฎีดังกล่าวจะเห็นได้ว่าบริษัททัวร์ในประเทศไทยที่ยังขาดความร่วมมือต่อกันนั้น ผมเห็นว่ามาจากสาเหตุใหญ่ๆ สองประการ คือ
ความเสี่ยงจากการสูญเสียข้อมูลกลุ่มลูกค้า: มาจากการที่หน่วยงานต่างๆมีการปกปิดข้อมูลลูกค้าต่อกัน อาจเนื่องด้วยการเกรงกลัวการสูญเสียลูกค้าให้กับคู่แข่ง เพราะการทราบข้อมูลลูกค้าของคู่แข่ง จะทำให้คู่แข่งเกิดการพัฒนาบริการให้เหมาะสมกับลูกค้าได้มากขึ้น และนำไปสู่การแย่งลูกค้าระหว่างบริษัทด้วยกัน ซึ่งส่งผลให้ลูกค้าที่เข้ามาท่องเที่ยวต้องเสียเวลาในการติดต่อ โรงแรม สถานที่ท่องเที่ยวแยกกันต่างหาก ทำให้การท่องเที่ยวในประเทศไทยไม่ได้รับความสะดวกเท่าที่ควร
ความเสี่ยงจากความไม่แน่นอนของบริการของหน่วยผลิตรายอื่น: เกิดจากการที่ผู้ประกอบการการท่องเที่ยวในประเทศไทยขาดการจัดมาตรฐานที่ดี ทำให้เกิดการขาดความไว้ใจที่จะส่งลูกทัวร์ให้แก่กันและกัน ยกตัวอย่างเช่น บริษัททัวร์รายหนึ่งได้ทำสัญญากับสายการบินA โดยที่ไม่รู้ว่าสายการบินA เป็นสายการบินที่ราคาถูก แต่ไม่มีมาตรฐาน ซึ่งเมื่อนักท่องเที่ยวใช้บริการแล้วไม่พอใจกับบริการ ก็จะตำหนิไปยังบริษัททัวร์ ซึ่งทำให้บริษัททัวร์เสียชื่อเสียง ทั้งนี้จากทฤษฎีของ Coase การกระทำเช่นนี้อาจเรียกได้ว่า เป็น สัญญาที่ไม่สมบูรณ์ (Incomplete Contract) เนื่องจากไม่สามารถบังคับให้ผู้ประกอบการอื่นๆทำตามาตรฐานที่ต้องการได้ ซึ่งอาจเกิดจากความจำกัดในการประมวลข้อมูลของคน (Bounded Rationality) เช่น ข้อมูลความรู้ การคาดการณ์ ทำให้หน่วยผลิตไม่สามารถเขียนสัญญาที่สมบูรณ์ (Complete Contract) ได้
นอกจากนี้อีกหนึ่งปัญหาที่ทำให้ E-Tourism ไม่ประสบความสำเร็จกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยเท่าที่ควร ก็คือ นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ไม่เชื่อมั่นในระบบ E-Tourism ของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทย จากผลสำรวจของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) พบว่านักท่องเที่ยวส่วนใหญ่ไม่รู้จักเวบไซต์การท่องเที่ยวของไทย และยังรู้สึกไม่ปลอดภัยในการตัดสินใจเลือกบริษัททัวร์ในการท่องเที่ยว ซึ่งมีข้อมูลด้านการท่องเที่ยวหรือแพคเกจทัวร์ที่ไม่ชัดเจน มีความกังวลว่าบริการที่โฆษณากับบริการที่ได้รับจะไม่เหมือนกัน อีกทั้งยังขาดความสะดวกในการซื้อบริการ ซึ่งพฤติกรรมของลูกค้าเหล่านี้ได้แสดงให้เห็นถึงความไม่สมมาตรของข้อมูล (Asymmetric Information) ระหว่างลูกค้ากับผู้ประกอบการการท่องเที่ยวของไทย ทำให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มาเที่ยวในเมืองไทยถูกเอารัดเอาเปรียบจากเจ้าของกิจการที่มีข้อมูลมากกว่า ซึ่งส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์การท่องเที่ยว และทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลง
นอกจากนี้หากมองในแง่ของผู้ผลิตแล้ว E-Tourism ยังทำให้หน่วยผลิตมีต้นทุนทางธุรกรรมถูกลงเพราะ จะทำให้การติดต่อระหว่างหน่วยผลิตต่างๆ กับลูกค้านักท่องเที่ยว เป็นไปได้ง่ายและไม่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย แต่ว่าผู้ประกอบการต่างๆในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจะต้องหันมาให้ความร่วมมือกันในเรื่องข้อมูลลูกค้า รวมไปถึงการรักษาระดับมาตรฐานการบริการของการท่องเที่ยวไทย ซึ่งผมคิดว่าจะทำให้อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวไทยเป็นหนึ่งเดียว สามารถรองรับนักท่องเที่ยวจากต่างชาติได้ดีขึ้น และอาจนำไปสู่การแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศได้อีกด้วย
เมื่อเห็นประโยชน์จาก E-Tourism มากมายขนาดนี้แล้วผู้ประกอบการทั้งหลายก็ควรหันมาสนใจการท่องเที่ยวรูปแบบใหม่นี้กันให้มากกว่าเดิม รับรองว่าหากประเทศไทยเราพัฒนาให้ระบบการท่องเที่ยว
E-Tourism ให้ทัดเทียมกับต่างชาติตำแหน่งผู้นำด้านการท่องเที่ยวของโลกก็คงจะไม่ไกลเกินเอื้อมแน่ๆ...
7.Web blog
Web Blog หรือ Blog คือเวบไซค็ทีให้พื้นที่ส่วนตัวแก่ผู้ใช้บริการ โดยมีฟั่งชั่นต่างต่างให้เลือกใช้งาน เช่นพื้นที่สำหรับเขียนประวัติ ไดอารี่ กล่องบทความ อัลบั้มรูป เวบบอร์ด สามารถโพสบทความหรือเรื่องราวของสินค้า กิจกรรมที่บริษัทดำเนินการ ปรับแต่งหน้าตาได้เหมือนเวบไซค์ สามารถจดทะเบียนเป็นชื่อเจ้าของได้ เชื่อมต่อ social network เช่น facebook ,Tweeter ,Goolgle โพสคลิบวีดีโอ หรือ ทำเป็นอัลบั้มรูปถ่ายสินค้าส่วนตัว
ทีสำคัญ blog สามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบได้ง่าย ข้อมูลจะสามารถเก็บไว้ได้ตลอด สามารถเก็บไว้ดูเองหรือจะเปิดให้ผู้อืนเข้ามาดูได้ หรือใช้ในรูปสมาชิกก็ได้ ปัจจุบันนิยมใช้ Blog เป็นเครื่องมือในการประชาสัมพันธ์ แจ้งข่าวสารให้กับลูกค้า เช่น ถ้าเราทำร้านค้าออนไลท์ จะพบว่าการที่ใครจะเข้ามาซื้อของเราไม่ใช่เรื่องง่าย เนื่องจากการแข่งขันสูง ความเชื่อมั่นในตัวสินค้า ดังนั้นเราจำเป็นต้องสร้างBlog ขึ้นมาเพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับสินค้า อธิบายรายละเอียด ให้ความรู้เกี่ยวกับคำแนะนำสินค้า เรานำ Blog เข้ามาจัดการ เนื่องจาก Web Blog สามารถ up date ได้ง่าย และมีการให้ข่าวสาร หรือเรื่องที่ใกล้เคียงสินค้า เพื่อแนะนำให้คนเข้ามายังเวบไซค์ร้านค้าออนไลน์ ด้วยการเชื่อม Blog กับเวบไซค็หลักของเรา
8.สรุป HQ102 ภาคปลาย 2557
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) คือ การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้ กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน ในระบบสารสนเทศนั้น ประกอบด้วย 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่ บุคลากร ขั้นตอนการทำงาน ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล ปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อวิถีชีวิตของประชาชน ทั้งด้านการติดต่อสื่อสาร การเป็นแหล่งข้อมูลความรู้ การดำเนินธุรกิจ และอื่นๆ อีกนับไม่ถ้วน
เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology) มาจากคำว่า “เทคโนโลยี” รวมกับคำว่า “สารสนเทศ” “เทคโนโลยี” หมายถึง สิ่งที่มนุษย์พัฒนาขึ้น เพื่อช่วยในการทำงานหรือแก้ปัญหาต่าง ๆ เข่น อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักรวัสดุ หรือ แม้กระทั่งสิ่งที่จับต้องไม่ได้ เช่น ระบบหรือกระบวนการต่าง ๆ เพื่อให้การดำรงชีวิตของมนุษย์ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น “สารสนเทศ” หมายถึง ข้อมูล ข้อเท็จจริง ข่าวสาร ความรู้ ที่ได้มีการบันทึก ประมวลหรือดำเนินการด้วยวิธีใดไว้ และสามารถนำไปใช้ประโยชน์และเผยแพร่ทั้งส่วนบุคคลและสังคม ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การนำเอาเทคโนโลยีมาใช้สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสารสนเทศ ทำให้สารสนเทศมีประโยชน์ และใช้งานได้กว้างขวางมากขึ้น เทคโนโลยีสารสนเทศรวมไปถึงการใช้เทคโนโลยีด้านต่าง ๆ ที่จะรวบรวม จัดเก็บ ใช้งาน ส่งต่อ หรือสื่อสารระหว่างกัน เทคโนโลยีสารสนเทศเกี่ยวข้องโดยตรงกับเครื่องมือเครื่องใช้ในการจัดการ สารสนเทศ ซึ่งได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์รอบข้าง ขั้นตอน วิธีการดำเนินการ ซึ่งเกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ เกี่ยวข้องกับตัวข้อมูล เกี่ยวข้องกับบุคลากร เกี่ยวข้องกับกรรมวิธีการดำเนินงานเพื่อให้ข้อมูลเกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้แล้วยังรวมไปถึง โทรทัศน์ วิทยุ โทรศัพท์ โทรสาร หนังสือพิมพ์ นิตยสารต่างๆ ฯลฯ
องค์ประกอบของระบบสารสนเทศ
ในระบบสารสนเทศนั้นประกอบด้วย 5 ส่วนหลักๆ ได้แก่ บุคลากร ขั้นตอนการทำงาน ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์ และข้อมูล
1) บุคลากร เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ เพราะบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถ และเข้าใจวิธีการในการดำเนินการ และจัดการเกี่ยวกับสารสนเทศทั้งหมด บุคลากรจึงต้องมีความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2) ขั้นตอนการปฏิบัติ หมายถึง ระเบียบวิธีการปฏิบัติงานในการจัดเก็บรักษาข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่จะทำให้เป็นสารสนเทศได้ เช่น การกำหนดให้มีการป้อนข้อมูลทุกวัน การปรับปรุงแก้ไขข้อมูลให้ถูกต้องอยู่เสมอ
3) เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดแวร์ เป็นอุปกรณ์ที่ประมวลผลข้อมูลเพื่อสร้างข้อมูลสารสนเทศ ซึ่งประกอบด้วยคีย์บอร์ด เมาส์ จอภาพ หน่วยระบบ และอุปกรณ์อื่นๆ เครื่องคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์
จะถูกควบคุมโดยซอฟต์แวร์เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจัดการสารสนเทศ
4) ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมในระบบคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) และซอฟท์แวร์แอพพลิเคชั่น (Application Software) เป็นชุดคำสั่งที่เรียงเป็นลำดับขั้นตอนมีหน้าที่สั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานตามวัตถุประสงค์ และประมวลผลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่ต้องการ
5) ข้อมูล ข้อเท็จจริง หรือเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับบุคคล วัตถุหรือสถานที่ ข้อมูลมีความสำคัญอย่างยิ่งเพราะใช้เป็นเครื่องช่วยในการวางแผนงานการบริหารจัดการ ดังนั้นข้อมูลจะต้องมีความถูกต้อง มีความเที่ยงตรง สามารถเชื่อถือได้ มีความเป็นปัจจุบัน สามารถตรวจสอบได้ และมีความสมบูรณ์ชัดเจน
บทบาทของเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน
ในปัจจุบัน เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้การกระจายข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว และยังสื่อสารแบบสองทิศทาง ด้วยเหตุนี้ผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองและสังคมจึงแตกต่างจากในอดีตมาก ดังจะเห็นได้จากวิกฤตการณ์ทางด้านเศรษฐกิจจากประเทศหนึ่งมีผลกระทบต่อประเทศอื่น ๆ อย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ผลของความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายด้าน อาทิเช่น
- การเปลี่ยนเป็นสังคมสารสนเทศ ปัจจุบันสังคมโลกกำลังเปลี่ยนแปลงเข้าสู่สังคมสารสนเทศ โดยคอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารมีบทบาทในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การซื้อสินค้าและบริการทางอินเทอร์เน็ต การทำงานผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมถึงก่อให้เกิดสังคมออนไลน์ทั้งเว็บบล็อก (Web Blog) เว็บไซต์วีดิโอออนไลน์ เว็บไซต์โซเชียลเน็ตเวิร์ค เป็นต้น
- การทำงานที่ไร้เงื่อนไขของเวลาและสถานที่ เทคโนโลยีสารสนเทศทำให้เกิดสภาพทางการทำงานแบบทุกสถานที่และทุกเวลา โดยการโต้ตอบผ่านระบบเครือข่าย ทำให้ขยายขอบเขตการทำงานไปทุกหนทุกแห่งและดำเนินการได้ตลอด 24 ชั่วโมง
- ระบบเศรษฐกิจเชื่อมโยงทั่วโลก เทคโนโลยีสารสนเทศส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจซึ่งเปลี่ยนจากระบบแห่งชาติไปเป็นเศรษฐกิจโลก เทคโนโลยีสารสนเทศมีส่วนเอื้ออำนวยให้การดำเนินการมีขอบเขตกว้างขวางมากยิ่งขึ้น ระบบเศรษฐกิจของโลกจึงผูกพันกับทุกประเทศและเชื่อมโยงกันแนบแน่นขึ้น
- เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ เทคโนโลยีสารสนเทศได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้งานใหม่ๆ เช่น ระบบระบุพิกัดบนพื้นโลก (Global Positioning System, GPS) ซึ่งสามารถกำหนดพิกัดของสถานที่ต่าง ๆ การสำรวจ การเดินทาง และใช้เป็นระบบติดตามรถยนต์ นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีดาวเทียมสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้กับการสืบค้นข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียมทางอินเทอร์เน็ต เช่น โปรแกรม Google Earth
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น